Health

  • คะน้า บำรุงสายตา มีสารอาหารสูงและต้านโรคได้
    คะน้า บำรุงสายตา มีสารอาหารสูงและต้านโรคได้

    คะน้า อาหารบำรุงสายตา มีสารอาหารสูง

    คะน้า มีสารอาหารต่างๆ ที่มีประโยชน์

    คะน้า เป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายนานาชนิด ซึ่งคะน้าสด 1 ถ้วยจะอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้

    • วิตามินเค 684 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณวิตามินเคที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน
    • วิตามินเอ  206 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณวิตามินเอที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน
    • วิตามินซี 134 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณวิตามินซีที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน
    • แมงกานีส 26 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณแมงกานีสที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน
    • ทองแดง 10 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณทองแดงที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน
    • วิตามินบี 6 9 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณวิตามินบี 6 ที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน
    • แคลเซียม 9 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน
    • โพแทสเซียม 9 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณโพแทสเซียมที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน
    • แมกนีเซียม 6 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณแมกนีเซียมที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน

    นอกจากนี้ ยังประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์ และลดความเสี่ยงการเกิดโรคบางชนิด โดยสารต้านอนุมูลอิสระที่พบปริมาณมากในคะน้า คือ เควอซิทิน (Quercetin) และแคมป์เฟอรอล (Kaempferol) ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสารเหล่านี้มีคุณสมบัติต้านการอักเสบและต้านไวรัสได้

    คะน้ามีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายด้าน

    ผักใบเขียวที่มีสารอาหารสำคัญทางโภชนาการมากมาย จึงมีการกล่าวอ้างคุณสมบัติที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของคะน้าในการช่วยบำรุงและรักษาปัญหาสุขภาพอย่างแพร่หลายด้วย โดยมีการศึกษาสรรพคุณทางยาของคะน้าในแง่มุมต่างๆ ดังนี้

    • คะน้ากับการบำรุงสายตา

    อายุที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ความสามารถในการมองเห็นเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ ทว่าสารอาหารบางประเภทในคะน้าอาจช่วยป้องกันและชะลอการเกิดโรคทางสายตาได้ เช่น ลูทีน (Lutein) และซีแซนทิน (Zeaxanthin) เป็นต้น โดยมีงานวิจัยหนึ่งศึกษาแหล่งอาหารของลูทีนและซีแซนทินในด้านประสิทธิผลต่อสุขภาพตา พบว่ามีสารในตระกูลแคโรทีนอยด์อย่างลูทีนและซีแซนทินเป็นปริมาณมากในผักใบเขียวอย่างคะน้า ผักโขม และบร็อคโคลี่ โดยพบอัตราส่วนของสารดังกล่าวในคะน้ามากที่สุดเมื่อเทียบกับผักใบเขียวชนิดอื่น ซึ่งสารเหล่านี้อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อกระจกและโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันคุณสมบัติของคะน้าในการบำรุงสายตาให้ชัดเจนยิ่งขึ้นต่อไป

    • คะน้ากับการลดระดับคอเลสเตอรอล

    ระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูงเกินไปอาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งและโรคหัวใจได้ เนื่องจากคอเลสเตอรอลจะเกาะตัวกันบนผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบจนอาจส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวกและเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ หลายคนเชื่อว่าคะน้าเป็นผักชนิดหนึ่งที่อาจมีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยมีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ป่วยเพศชายที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจำนวน 32 คน ดื่มน้ำคะน้าปริมาณ 150 มิลลิลิตรเป็นประจำทุกวันติดต่อกันนาน 12 สัปดาห์ พบว่าน้ำคะน้าช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีต่อร่างกาย (High-Density Lipoprotein: HDL) ได้ 27 เปอร์เซ็นต์ และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) ได้ถึง 10 เปอร์เซ็นต์

    ส่วนการทดลองอีกชิ้นหนึ่งพบว่า ผักคะน้านึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการจับกรดน้ำดีในระบบย่อยอาหาร ซึ่งส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง จึงคาดว่าการรับประทานคะน้านึ่งอย่างสม่ำเสมออาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดได้

    แม้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสรรพคุณในการลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลของคะน้า แต่งานทดลองเหล่านี้ล้วนเป็นการทดลองขนาดเล็กในหลอดทดลองเท่านั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าถึงประสิทธิผลในด้านนี้เพิ่มเติม และอาจทดลองประสิทธิภาพในคน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต

    • คะน้ากับการป้องกันมะเร็งเต้านม

    มะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ภายในเต้านมจนกลายเป็นก้อนเนื้อร้าย แม้โรคนี้จะพบได้มากในเพศหญิงแต่ก็สามารถพบได้ในเพศชายเช่นกัน จึงควรให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพและตรวจเต้านมเป็นประจำ ซึ่งคะน้าอุดมไปด้วยสารประกอบอย่างอินโคล-3-คาร์ฟินอล (Indole-3-Carbinol) และซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) ที่เชื่อว่าอาจมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งได้ โดยมีการศึกษาชิ้นหนึ่งชี้ให้เห็นว่า ซัลโฟราเฟนอันเป็นสารประกอบที่พบในผักตระกูลกะหล่ำปลี เช่น คะน้า บร็อคโคลี่ และกะหล่ำดาว เป็นต้น อาจมีคุณสมบัติต้านมะเร็งและช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านมได้ สอดคล้องกับการศึกษาประสิทธิภาพของผักตระกูลกะหล่ำปลีต่อโรคมะเร็งในหลายงานวิจัยที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าสารประกอบอินโคล-3-คาร์ฟินอล และซัลโฟราเฟนในผักตระกูลกะหล่ำปลีมีอิทธิพลต่อตัวรับเอสโตรเจนในเซลล์มะเร็งเต้านม จึงอาจช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมได้

    อย่างไรก็ตาม ยังคงจำเป็นต้องศึกษาคุณสมบัติในด้านนี้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มเติมต่อไป โดยควรค้นคว้าทั้งด้านประสิทธิผลทางการรักษาป้องกันโรคตลอดจนความปลอดภัยในการบริโภคคะน้าในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพื่อให้สามารถนำประโยชน์ของคะน้าไปประยุกต์ใช้ในการต้านมะเร็งในอนาคต

    คะน้า

    ผัก ผลไม้ 10 ชนิด ช่วยบำรุงสายตา

    1. ผักบุ้ง เป็นผักที่ช่วยบำรุงสายตาได้ดีมาก มีทั้งวิตามิน A และวิตามิน C รวมถึงเบต้า-แคโรทีน เป็นวิตามินที่ช่วยป้องกันมะเร็งได้อย่างดี นอกจากผักบุ้งจะวิตามินแล้ว ผักบุ้งยังมีเกลือแร่ มีธาตุเหล็กที่ช่วยบำรุงเลือดได้อีกด้วย
    2. แครอท ประกอบด้วยสารเบต้าแคโรทีน วิตามิน และแร่ธาตุอื่นอีกหลายชนิด เบต้าแคโรทีนคือ วิตามินเอ สามารถช่วยในการบำรุงรักษาดวงตาได้ดี วิตามินเอเป็นตัวช่วยให้มีผิวดี อีกทั้งยังสามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็งได้
    3. ผักตำลึง ผักริมรั้วอย่างตำลึงมีเบต้าแคโรทีน สารกลุ่มแคโรทีนอยด์ ที่ช่วยทำหน้าที่กรองแสงให้กับดวงตาได้อย่างดี
    4. ผักคะน้า คะน้ามีสารต้านอนุมูลอิสระ คือวิตามินซีและเบต้าแคโรทีน มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตาได้อีกด้วย
    5. ฟักทอง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี อีกทั้งยังดูแลผิวพรรณ การย่อยอาหาร ตับ ไต สร้างเซลล์ใหม่แทนเซลล์เก่า แว่ว ๆ มาว่า ฟักทองสามารถช่วยต้านมะเร็งได้ดีเช่นกัน
    6. มะละกอ ผลไม้หาง่ายตัวนี้ อุดมด้วยวิตามินเอ บี1 บี2 แคลเซียม และเบต้าแคโรทีน สารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อรับประทานจะบำรุงผิวพรรณดี ลดริ้วรอยก่อนวัย และบำรุงสายตาได้ดี
    7. เสาวรส ผลรสไม้เปรี้ยวอมหวานมีวิตามินเอสูงมากๆ ช่วยในการทำงานของจอประสาทตาได้ดีขึ้น อีกทั้งพบว่ามีวิตามินซีมากกว่ามะนาว จึงช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้
    8. ส้ม ส้มอุดมด้วยวิตามิน ซี เมื่อรับประทานเป็นประจำ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อได้
    9. เบอร์รี่สีดำ ผลเบอร์รี่มีประโยชน์โดยตรงกับดวงตา อุดมด้วยสารแอนโทไซยานิน ช่วยปกป้อง ชลอการเกิดต้อ และ ชลอการเกิดจอประสาทตาเสื่อม
    10. มะมุ่วงสุก อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี ฟอสฟอรัส ใยอาหาร นอกเหนือจากสามารถบำรุงสายตาแล้ว ยังบำรุงเหงือกและฟัน ช่วยให้ผิวพรรณสดใส ลดสิวและริ้วรอยก่อนวัยได้เป็นอย่างดี

    7 อาหารบำรุงสายตา แก้อาการเมื่อยล้าจากจอมือถือ

    1. ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

    ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่เป็นกลุ่มผลไม้รสเปรี้ยวฉ่ำอมหวาน เป็นแหล่งของวิตามินซีมหาศาล เช่น โกจิเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ มัลเบอร์รี่(ลูกหม่อนของไทย) เป็นต้น

    มีสารสำคัญอย่างสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยบำรุงสายตาโดยตรง ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ดวงตาถูกทำลาย ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความเสื่อมของจอประสาทตาและลดการเกิดต้อกระจกได้

    2. ผักใบเขียว

    ผักใบเขียว เช่น ผักบุ้ง ตำลึง กวางตุ้ง คะน้า ฯลฯ ผักเหล่านี้ล้วนอุดมไปด้วยสารสำคัญอย่าง ลูทีนและซีแซนทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอย่างหนึ่ง จากการศึกษาพบว่าช่วยลดความเสื่อมของจอประสาทตาและการเกิดต้อกระจกได้

    3. ไข่

    ไข่แดงเป็นแหล่งของสารอาหารลูทีน และซีแซนทีน รวมไปถึง ซิงค์ ด้วย ทั้งหมดนี้ช่วยลดความเสี่ยงของการเสื่อมของจอประสาทตา ทำให้เซลล์ต่างๆ ในดวงตาแข็งแรงอยู่เสมอ

    4. แครอท

    เป็นผักหัวใต้ดินที่มีคุณประโยชน์อันดับต้นๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ แครอท ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารบำรุงสายตาชั้นเยี่ยม อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน วิตามินเอ และลูทีน ช่วยดูแลสุขภาพดวงตาของคุณให้สดใสแข็งแรงอยู่เสมอ ช่วยบำรุงกระจกตา ป้องกันไม่ให้เซลล์ดวงตาถูกทำลายจากแสงแดดและรังสีอันตรายต่างๆ ช่วยส่งเสริมการทำงานของจอประสาทตา ไม่ให้เสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร

    5. อะโวคาโด

    มาต่อกันที่ผลไม้รสนุ่มนวลอย่าง อะโวคาโด เจ้านี้มีประโยชน์ในการบำรุงสายตามากๆ เลย เพราะมีสารอาหารจำเป็น เช่น ลูทีน เบต้าแคโรทีน วิตามินบี 6 และวิตามินซี โดยจะช่วยบำรุงสายตา ป้องกันอาการตาฝ้าฟาง ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพดวงตาที่ร่วงโรยไปตามวัย

    6. อัลมอนด์

    ในอัลมอนด์อุดมไปด้วยวิตามินอี ซึ่งผลการวิจัยพบว่าช่วยชะลอความเสื่อมของจอประสาทตา แค่ทานวันละหนึ่งฝ่ามือ ก็ได้รับวิตามินอีถึงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่แนะนำต่อวันแล้ว

    7. ปลาที่มีไขมันสูง

    จากการศึกษาทางการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ พบว่า ปลาที่มีไขมันประเภทดีอยู่จำนวนมาก เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาแอนโชวี่ ปลาเทราต์ ปลาสวาย ฯลฯ ปลาพวกนี้อุดมไปด้วยกรดไขมัน DHA ซึ่งเป็นกรดไขมันที่พบได้มากในเรตินาของดวงตา ดังนั้นมันจึงตรงเข้าไปซ่อมแซมดวงตาของเราให้กลับมาสดใส มีน้ำหล่อลื่นเพียงพอ และยังช่วยห่างไกลจากโรคตาแห้งอีกด้วย

    จะเห็นว่านอกจากคะน้า ยังมีผัก ผลไม้ หลายชนิดที่กล่าวไว้ข้างต้น หาได้ตามรั้ว ตามสวน ที่บ้านของเรา หรือบางชนิดอาจจะต้องซื้อ แต่ก็ไม่เป็นไร อย่างไหนปลูกได้ก็ปลูกกันไป ตามความเหมาะสม เพราะทุกอย่างไม่เพียงแต่มีประโยชน์ต่อสายตา แต่ยังให้คุณค่าทางอาหารต่อร่างกายอีกด้วย

    ที่มา

     

    ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  trcbet365.com

    สนับสนุนโดย  ufabet369

Economy

  • ข้อดี-ข้อเสีย รีไฟแนนซ์ ต้องรู้อะไรก่อนตัดสินใจ
    ข้อดี-ข้อเสีย รีไฟแนนซ์ ต้องรู้อะไรก่อนตัดสินใจ

    รีไฟแนนซ์ (Refinance) คือการกู้หนี้ก้อนใหม่กับธนาคารรายใหม่มาโปะยอดสินเชื่อบ้านก้อนเดิม เพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้น หลังหมดโปร 3 ปีแรก แต่ก่อนอื่นอยากพาทุกคนมาดูว่ารีไฟแนนซ์คืออะไร และมันมีข้อดีและข้อเสียยังไงก่อนตัดสินใจไปยื่นเรื่องกับธนาคาร เพราะหนี้สินเชื่อบ้านเป็นหนี้ก้อนใหญ่และผูกมัดระยะยาว ถ้าไม่พิจารณาอย่างรอบคอบ นอกจากเจ็บใจแล้วยังต้องแบกรับภาระหนี้ก้อนใหญ่ขึ้นอีกต่างหาก

    รีไฟแนนซ์ ” (Refinance) คืออะไร ?

    เชื่อว่าคำนี้คงได้เห็นผ่านตากันบ่อย ๆ ทั้งจากเว็บไซต์อสังหาฯ เจ้าหน้าที่สินเชื่อ หรือแม้กระทั่งเซลส์ประจำโครงการที่แนะนำให้ลูกค้าติดต่อธนาคาร หลังผ่อนจนครบ 3 ปี เพราะการรีไฟแนนซ์เหมือนการ “รีสตาร์ท” ดอกเบี้ย โดยการยื่นกู้ “หนี้ใหม่” จาก “ธนาคารเจ้าใหม่” มาใช้ “หนี้เก่า” กับ “ธนาคารเดิม” แล้วจากนั้นค่อยผ่อนหนี้ก้อนใหม่ในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ต่างจาก “รีเทนชั่น” ที่เป็นหนี้ก้อนเดิมกับเจ้าหนี้รายเดิมเพียงแต่มีการเจรจาขอปรับลดดอกเบี้ยเท่านั้น

    ถึงแม้ดอกเบี้ยจากการรีไฟแนนซ์อาจจะไม่ถูกเท่าตอนยื่นกู้ครั้งแรกที่มี “ดอกเบี้ยโปรโมชัน” เฉลี่ย 3 ปีอยู่ที่ประมาณปีละ 2.5-2.9% แต่หลายคนก็มองว่าดีกว่าต้องเสียแพง ๆ ซึ่งปีที่ 4 เป็นต้นไป ธนาคารจะคิดเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ซึ่งจะมีอยู่ 2 แบบคือ MRR และ MLR มีอัตราดอกเบี้ย 6.025-8.125% ต่อปี ตามข้อเสนอแต่ละธนาคารและนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้น

    ข้อดีของการ “ รีไฟแนนซ์

    อย่างที่บอกว่าการรีไฟแนนซ์คือการรีสตาร์ท “ดอกเบี้ยให้ถูกลง” นั่นหมายความว่าค่างวดผ่อนที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนย่อมลดลงด้วย เช่น

    • ขอยื่นกู้สินเชื่อซื้อบ้านวงเงิน 2 ล้านบาทกับธนาคารแห่งหนึ่งเป็นเวลา 30 ปี หรือ 360 งวด
    • โดยผ่อนงวดละ 9,000 บาท และได้ดอกเบี้ย 3 ปีแรกเฉลี่ย 3.3% ปีต่อไป MRR-0%
    • หากในปีที่สี่ MRR ขณะนั้นอยู่ที่ 7.12% ก็จะเจอดอกเบี้ย 5.12%

    ซึ่งสูตรการคำนวณดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในแต่ละงวดคือ

    ดอกเบี้ยต่องวด = เงินต้นที่ยกมา × อัตราดอกเบี้ย% × จำนวนวันของเดือนนั้น/จำนวนวันของปีนั้น

    • ถ้างวดแรกมี 30 วัน ต้องจ่ายดอกเบี้ย (2,000,000 x 3% x 30) ÷ 365 = 5,424.66 บาท
    • เมื่อดอกเบี้ย+เงินต้น จะเป็น 2,005,424.66 บาท
    • แต่ผ่อนไหวแค่เดือนละ 9,000 บาท ในงวดแรกจึงชำระเงินต้นไป 9,000-5,424.66 = 3,575.34 บาท
    • เดือนต่อไปจะเหลือเงินต้น 2,000,000 – 3,575.34 = 1,996,424.66 บาท
    • ส่วนงวดต่อไปจะต้องจ่ายดอกเบี้ย (1,996,424.66 x 3% x 31) ÷ 365 = 5,595.46 บาท
    • เท่ากับว่าจากเงิน 9,000 บาท จะชำระเป็นเงินต้น 3,54 บาท ในเดือนต่อไปจะเหลือเงินต้น 1,993,020.12 บาท

    รีไฟแนนซ์ 1

    การคำนวณ Retention

    ถ้าหลัง 36 งวด เข้าสู่ปีที่ 4 ทั้งผ่อนทั้งโปะจนเหลือเงินต้น 1,700,000 บาท และยังผ่อนต่อกับธนาคารเดิม

    MRR-2.0% และได้ดอกเบี้ย 5.12% (1,700,000 x 5.12% x 30) ÷ 365 = 7,153.97 บาท

    แต่ยังจ่ายงวดละ 9,000 บาทเท่าเดิม ก็จะจ่ายเงินต้นได้แค่เดือนละ 1,846.97 บา

    แสดงว่าเดือนต่อไปเงินต้นจะเหลือ 1,700,000 – 1,846.97 = 1,698,153.03 บาท

    การคำนวณ Refinance

    ถ้าในปีที่ 4 ไปยื่นขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ก็จะได้ “ดอกเบี้ยโปรโมชัน” อีกรอบ เช่น ดอกเบี้ย 3 ปีแรกเฉลี่ย 3.6% ทำให้ต้องจ่าย “ค่าดอกเบี้ย” ถูกกว่าธนาคารเดิมแน่นอน เช่น

    ขอกู้ธนาคารใหม่ในวงเงิน 1,700,000 บาท งวดแรกของสัญญาใหม่จะเสียค่าดอกเบี้ย (1,700,000 x 3.6% x 30) ÷ 365 = 5,030.14 บาท

    ถ้าจ่ายงวดละ 9,000 บาทเท่ากัน เดือนนี้ก็จะชำระเงินต้นไป 3,969.86 บาท

    เดือนต่อไปเงินต้นจะเหลือ 1,700,000 – 3,969.86 = 1,696,030.14 บาท

    ซึ่งจะเหลือเงินต้นน้อยกว่ากู้กับธนาคารเดิม

    ข้อเสียของการ “รีไฟแนนซ์

    เมื่อมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย จึงอยากเตือนก่อนจะตัดสินใจยื่นรีไฟแนนซ์ว่าควรจะคำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้รอบคอบ เพราะนอกจากความยุ่งยากในการเตรียมเอกสารและต้องเสียเวลาเดินเรื่องกับธนาคารใหม่แล้ว ยังต้องเจอกับ “ค่าธรรมเนียม” คล้ายกับการซื้อบ้านใหม่อีกรอบด้วย

    ค่าเบี้ยปรับการไถ่ถอนจำนองก่อนครบกำหนด

    0-3% ของ “ยอดหนี้คงเหลือ” กรณีใช้อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว หรือ 0-3% ของ “วงเงินกู้เดิม” กรณีใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ ซึ่งธนาคารจะกำหนดระยะเวลา 3-5 ปีนับจากวันทำสัญญา  เช่น ยื่นกู้ 2 ล้านบาท เป็นเวลา 30 ปี โดยใช้ดอกเบี้ยลอยตัวแบบ MRR ถ้าผ่อนไปแล้ว 2 ปี จนเหลือเงินต้น 1,800,000 บาท ต้องเสียค่าปรับ 1,800,000 x 3% = 54,000 บาท

    หรือถ้าใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ ธนาคารจะคิดค่าปรับจากวงเงินกู้เดิมที่ทำสัญญาไว้ ซึ่งจะต้องจ่าย 3,000,000 x 3% = 90,000 บาท  ฉะนั้น ถ้าคำนวณดูแล้วดอกเบี้ยไม่แพงเกินไปนักก็อย่าเพิ่งรีบยื่นรีไฟแนนซ์ก่อนครบกำหนดตามสัญญาจะดีกว่า

    ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้

    0-1% ของวงเงินกู้ใหม่ ซึ่งบางธนาคารก็ใจดีไม่คิดค่าธรรมเนียมในส่วนนี้

    ค่าประเมินหลักทรัพย์

    0-0.5% ของราคาประเมินสินทรัพย์ ส่วนใหญ่จะไม่เกิน 5,000 บาท หรืออาจจะฟรีค่าประเมินหลักทรัพย์ก็ได้

    ค่าประกันอัคคีภัย

    กฎหมาย “บังคับ” ว่าต้องจ่ายกรมธรรม์เผื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ซึ่งเบี้ยประกันจะขึ้นอยู่กับแต่ละกรมธรรม์ โดยควรเลือกวงเงินคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 70% หรือราคาบ้าน  บ้านราคา 3 ล้านบาทของควรต้องมีวงเงินคุ้มครองประมาณ 2.1 ล้านบาท หรือเบี้ยประกันราว ๆ 2,500-3,000 บาทต่อปี

    ค่าจดจำนอง 1% และค่าอากร 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่

    จากตัวอย่างเดิม ถ้าผ่อนบ้านไปแล้ว 3 ปี จนเหลือเงินต้น 1,700,000 บาท แล้วต้องการยื่นรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ ก็ไม่ต้องเสียค่าเบี้ยปรับการไถ่ถอนจำนองก่อนกำหนด และธนาคารใจดีไม่คิดค่าธรรมการยื่นกู้ แต่ยังต้องเสียค่าประเมินหลักทรัพย์ 5,000 บาท ค่าประกันอัคคีภัยที่ต้องเสียทุกปีอยู่แล้ว 3,000 บาท ค่าจดจำนอง 1,700,000 x 1% = 17,000 บาท และค่าอากร 1,700,000 x 0.05% = 850 บาท รวมทั้งหมด 25,850 บาท

    ควรรีไฟแนนซ์ดีไหม ?

    คราวนี้เรามาลองคำนวณกันดูจากกรณีเดิมที่ยังเหลือเงินต้น 1,700,000 บาทว่า ระหว่างยอมผ่อนต่อกับธนาคารเดิมเป็นเวลา 3 ปี กับยื่นขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่จนครบ 3 ปี ทางเลือกไหนจะคุ้มกว่ากัน?

    ผ่อนต่อ ในงวดที่ 37-72 หรือปีที่ 4-7 ด้วยอัตราดอกเบี้ย MRR-2.0% เหลือดอกเบี้ย 5.12% ต่อปี เมื่อคำนวณแล้วภายในเวลา 3 ปีจะต้องเสียดอกเบี้ยทั้งหมด 256,750.63 บาท และมีเงินต้นคงเหลือ 1,632,750.65 บาท หรือใช้หนี้ไปแล้ว 19% ของวงเงินกู้ 2 ล้านบาท

    รีไฟแนนซ์ งวดที่ 37-72 หรือปีที่ 4-7 เช่นเดียวกัน แต่เริ่มต้นผ่อนงวดที่ 1 กับธนาคารใหม่ในอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีคือ 3.6% ซึ่งเมื่อครบ 3 ปีจะเสียดอกเบี้ยรวม 176,234.68 บาท รวมกับค่าธรรมเนียมในการรีไฟแนนซ์อีก 25,850 บาท รวมทั้งหมด 202,084.68 บาท และมีเงินต้นคงเหลือ 1,552,234.68 บาท หรือใช้หนี้ไปแล้ว 23% ของวงเงินกู้เดิม

    กรณีนี้ถ้ายังผ่อนต่อกับธนาคารเดิมก็จะต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้นอย่างชัดเจน แถมจ่ายเงินต้นได้น้อย หนี้ก็ยิ่งหมดช้าลงและต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงไปเรื่อย ๆ  ขณะที่การรีไฟแนนซ์ทำให้เราจ่ายดอกเบี้ยถูกลง ก็ยิ่งมีเงินเหลือไปโปะเงินต้น ลดหนี้ลดดอกลงไปเรื่อย ๆ เท่ากับช่วย “ลดเวลา” การเป็นหนี้ของเราให้สั้นกว่าเดิม

    ซึ่งมองว่าการรีไฟแนนซ์ควรทำเมื่อผ่อนกับธนาคารเดิมครบ 3 ปี จะได้ไม่ต้องเสียค่าปรับการไถ่ถอนจำนองก่อนครบกำหนด ซึ่งจากตัวอย่างที่คำนวณไว้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้มากกว่าค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ต้องเสียจากการรีไฟแนนซ์เสียอีก หรือถ้าใครคำนวณแล้วว่าดอกเบี้ยของธนาคารเดิมมันแพง ๆ จริง ๆ ก็คงต้องยอมเสียค่าปรับส่วนนั้นเพื่อกู้กับธนาคารใหม่

    ถึงแม้ว่าพอคำนวณออกมาแล้วดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์จะถูกกว่า แต่อย่าลืมว่าข้อเสนออัตราดอกเบี้ย MRR หรือ MLR นั้นเป็นแบบลอยตัว ปรับตัวเลขขึ้น-ลงได้ตลอดขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและนโยบายทางการเงินในขณะนั้น ซึ่งอาจต้องเผื่อใจไว้สักนิดหากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันด้วย

    ว่าทางที่ดีลองถามธนาคารเดิมก่อนว่าถ้ารีเทนชั่นแล้วจะเหลือดอกเบี้ยเท่าไหร่ แล้วค่อยนำมาคำนวณเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์ จะได้ไม่ต้องเสียเงิน เสียเวลา


    ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    พฤกษศาสตร์ ความเข้าใจ ความสำคัญ
    รู้ก่อนสาย เมื่อเป็นความดันโลหิตสูง ต้องดูแลตัวเองอย่างไร
    NGG JEWELLERY แตกไลน์แบรนด์ Zoullink
    โรคคลั่งผอมกับวัยรุ่น
    ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://trcbet365.com/
    สนับสนุนโดย  ufabet369
    ที่มา www.moneybuffalo.in.th